ไข้หัดแมว โรคอันตรายที่ทาสแมวควรรู้จัก

ไข้หัดแมว อีกหนึ่งชื่อที่คนเลี้ยงแมวอาจคุ้นเคยกันดีในตอนที่พาเจ้านายตัวน้อยไปฉีดวัคซีน แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ไข้หัดแมวคืออะไร? ทำไมถึงอันตราย ? 

เพราะฉะนั้น บทความนี้จะไขข้อข้องใจให้ทาสแมวทุกคน เข้าใจสาเหตุ อาการ รวมถึงวิธีดูแล ป้องกัน และรักษาโรคไข้หัดแมว เพื่อให้น้องแมวอยู่ห่างไกลจากโรคนี้ และมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัย ต่อตัวเจ้านายของพวกเรากัน

ไข้หัดแมวคือโรคอะไร

โรคไข้หัดแมวหรือ Cat distemper เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Feline Parvovirus โดยเฉพาะลูกแมวอายุน้อยที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหรือน้องแมวที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 

เพราะโดยทั่วไปแล้ว เมื่อน้องแมวออกมาลืมตาดูโลก พวกเค้าจะได้รับภูมิคุ้มกันติดตัวมาเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ด้วย โดยภูมิคุ้มกันนี้จะอยู่ได้ประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ เมื่อผ่านช่วงเวลานี้ไปเจ้าของแมวจึงต้องให้ความระมัดระวังกับโรคนี้เป็นพิเศษ

โรคไข้หัดแมวจะเข้าไปทำลายระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะลำไส้ และยังทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวที่คอยช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคอื่น ๆ ลดลง จนอาจส่งผลทำให้น้องแมวอ่อนแอลง และติดเชื้อโรคอื่นได้ง่ายขึ้น

หากน้องแมวของคุณมีอาการผิดปกติที่เข้าข่ายโรคไข้หัดแมว ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที เนื่องจากโรคไข้หัดแมวสามารถติดต่อจากแมวสู่แมวได้ง่ายผ่านทางอุจจาระ ปัสสาวะ และน้ำลาย การแยกน้องแมวที่ป่วยออกจากตัวอื่น และทำความสะอาดบริเวณที่น้องแมวใช้เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ คือวิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่สำคัญ

แล้วอาการของโรคไข้หัดแมวจะมีอะไรบ้าง มาดูกันต่อไปพร้อม ๆ กันได้เลย

อาการของโรคไข้หัดแมว

อย่างที่กล่าวไปในข้างต้น โรคไข้หัดแมวจะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นอาการส่วนมากก็จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกินอาหารของน้อง ระบบขับถ่ายต่าง ๆ และอาการอ้วกก็มีให้พบ เรามาดูกันว่าอาการเบื้องต้นของเจ้าโรคนี้มีอะไรบ้าง

  • เซื่องซึม ไม่กระฉับกระเฉง น้องแมวที่ปกติร่าเริงอาจดูอ่อนเพลีย ไม่เล่น ไม่ซุกซน และไม่เข้ามาอ้อน
  • เบื่ออาหาร น้องแมวอาจกินน้อยลงหรือไม่กินอาหารไปเลย
  • น้ำลายเป็นฟองที่ปากหรืออ้วกออกมาเป็นอาหารหรือน้ำเหลือง
  • ไข้สูงผิดปกติ อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ และอาจลดลงอย่างรวดเร็ว
  • มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ถ่ายเหลว ซึ่งน้องแมวบางตัวอาจจะมีอุจจาระเปื้อนมูกเลือดออกมาด้วย โดยหากน้องแมวถ่ายบ่อยมากเกินไปอาจจะเกิดอาหารขาดน้ำ และสามารถเกิดอาการช็อกได้

โดยไข้หัดแมวจะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 2 – 7 วันแรกหลังจากสัมผัสเชื้อ และในน้องแมวบางตัวอาจไม่มีการแสดงอาการใด ๆ น้องแมวที่ยังไม่ได้รับวัคซีนกระตุ้นหรือลูกแมว จะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะป่วยหนัก หากสงสัยว่าเจ้านายตัวน้อยติดเชื้อหรือมีอาการ การไปพบแพทย์ และให้แพทย์ตรวจอย่างเร่งด่วนที่สุดก็เป็นทางที่ปลอดภัยที่สุด 

วิธีวินิจฉัย และการรักษาไข้หัดแมว

การวินิจฉัย

โดยสัตวแพทย์มักจะตรวจวินิจฉัยโรคไข้หัดแมวผ่านการตรวจอุจจาระเพื่อหาเชื้อไวรัส และตรวจเลือดเพื่อดูจำนวนเม็ดเลือดขาว เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้น้องแมวอ่อนแอลง และติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย

การรักษา

ในด้านการรักษา เนื่องจากโรคไข้หัดแมวนั้นยังไม่มีวิธีการรักษาโดยเฉพาะ การรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการ และป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน โดยสัตวแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย และให้น้ำเกลือเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ การดูแลที่บ้าน ก็มีความสำคัญมาก เช่น การให้อาหารอ่อน ๆ การทำความสะอาดบริเวณที่น้องแมวอยู่ และการพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์ตามนัด 

สำหรับน้องแมวที่กำลังรักษาไข้หัดแมว การอยู่เคียงข้าง และให้กำลังใจพวกเค้าอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้น้องแมวรู้สึกปลอดภัย และมีแรงต่อสู้กับโรคร้าย การสังเกตอาการของน้องแมว และทำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยให้เราสามารถดูแลน้องแมวได้อย่างเหมาะสม และช่วยให้น้องแมวหายป่วยได้เร็วขึ้นนั่นเอง

แต่เอ๊ะ…แล้วเราพอจะมีวิธีไหนที่ช่วยให้น้องแมวของเราห่างไกลจากโรคไข้หัดแมวได้กันนะ

การป้องกันโรคไข้หัดแมว

1. การฉีดวัคซีน

การป้องกันน้องแมวให้ห่างไกลจากโรคไข้หัดแมวที่ง่ายที่สุดก็คือ การฉีดวัคซีน เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันโรคไข้หัดแมว และที่สำคัญ นอกจากโรคไข้หัดแมวแล้ว วัคซีนรวมสำหรับแมวยังช่วยป้องกันโรคอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคไข้หวัดแมว โรคระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และตาอักเสบ รวมถึงโรคพิษสุนัขบ้า และลิวคิเมียอีกด้วย

ตารางการฉีดวัคซีนแมวที่ควรทราบ

  • อายุ 2 เดือน: ฉีดวัคซีนเข็มแรก
  • อายุ 3 เดือน: ฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 2
  • อายุ 4 เดือน: ฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3
  • หลังจากนั้น: ฉีดวัคซีนกระตุ้นทุก 1 – 3 ปี

2. การดูแลความสะอาด

อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันไข้หัดแมวให้กับเจ้านายตัวน้อยของเราก็คือ การดูแลความสะอาด โดยการหมั่นทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ของน้องแมว เช่น ห้องน้ำแมว ถ้วยอาหาร และถ้วยน้ำ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หัดแมว นอกจากนี้หากบ้านไหนมีการรับสมาชิกใหม่เข้ามาเพิ่ม ควรกักตัว แยกจากน้องแมวจากกันประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อสังเกตอาการ และป้องกันการแพร่เชื้อไปยังแมวตัวอื่น ๆ 

3. อาหาร

วิธีสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้วิธีอื่น ๆ ก็คือเรื่องของโภชนาการ เพราะเมื่อน้องแมวมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำ ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไข้หัดแมวได้มากขึ้น การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเจ้านายตัวน้อยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้

ซึ่งเราขอแนะนำ Pawdy Holistic Feline อาหารแมวสูตรโฮลิสติกที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของแมวโดยเฉพาะ มีส่วนผสมของ Bovine Plasma + ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้น้องเหมียวสามารถรับมือกับเชื้อโรคต่าง ๆ และยังมีส่วนช่วยในการดูแลระบบลำไส้ และระบบย่อยอาหาร ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักที่เชื้อไข้หัดแมวจะเข้าไปทำลายด้วยนั่นเอง 

นอกจากนั้นใน Pawdy Holistic Feline ยังมีส่วนผสมคุณภาพพรีเมียม อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • Evening Primrose Oil หรือน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส ช่วยบำรุงผิวหนัง และขนให้สุขภาพดี ลดการระคายเคืองผิวหนัง
  • Beta-Glucan ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความสามารถในการต่อสู้กับการติดเชื้อและโรคต่างๆ
  • มีใยอาหารสูง ช่วยระบบย่อยอาหาร ขับถ่ายสะดวก

ให้ Pawdy Holistic Feline ดูแลน้องแมวของคุณ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าน้องเหมียวจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและมีสุขภาพแข็งแรง ป้องกันโรคไข้หัดแมว และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สนใจสั่งซื้อได้ ที่นี่

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อ่านมาถึงตรงนี้ คงจะทราบถึงความอันตรายของโรคไข้หัดแมวกันแล้วใช่มั้ย แต่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะเพียงแค่เราดูแลน้องแมวให้ดี ทั้งเรื่องอาหารการกินที่เหมาะสม และพอดี ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนด และรักษาความสะอาดในบ้านให้ดี เจ้านายตัวน้อยของเราก็จะแข็งแรง ปลอดภัยอย่างแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

    Feline parvovirus (FPV) procedures. Reg Charity 203644 (England and Wales) SC037711 (Scotland) . (2013, February). https://www.cats.org.uk/uploads/documents/Info_for_Vets/Feline_parvovirus_(FPV)_procedures_v1.pdf 

    Flowers, A. (2024, February 29). The symptoms, dangers, and avoidance of feline parvovirus. WebMD. https://www.webmd.com/pets/cats/what-to-know-about-feline-parvovirus 

    Stuetzer, B., & Hartmann, K. (2014). Feline parvovirus infection and associated diseases. The Veterinary Journal, 201(2), 150–155. https://doi.org/10.1016/j.tvjl.2014.05.027 

“ไข้หัดแมว” โรคที่ทาสแมวต้องระวัง – hospetal. hospetal.co.th. (n.d.).

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top