'ฉลากอาหารเม็ด' ที่ดีต้องมีอะไรบ้าง ? ชื่อสูตรอาหาร และช่วงวัย ชื่อสูตรอาหาร และช่วงวัยระบุชื่อสูตร และคำอธิบาย ว่าเหมาะกับน้องๆ ช่วงวัยไหน เพื่อให้ง่ายต่อการ เลือกซื้อ และเหมาะกับสารอาหารที่พวกเขาต้องการ วัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ วันผลิตและ วันหมดอายุบนฉลากหรือแพ็คเกจจะระบุวันผลิตและหมดอายุ อย่างชัดเจน เพื่อให้น้อง ๆ บริโภคและสามารถใช้สินค้าได้อย่างปลอดภัยและได้รับประโยชน์สูงสุด คุณภาพทางโภชนาการ เพราะน้อง ๆ แตกต่างกัน การดู ‘Guaranteed Analysis’ ใช้ปริมาณโปรตีน ไขมัน หรือ ไฟเบอร์ เพื่อประเมิน ความเหมาะสมของปริมาณ ในการให้อาหารได้ ตารางปริมาณ การให้อาหาร ‘Feeding Guideline’ จะบอกปริมาณที่แนะนำ ซึ่งจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว อายุ สายพันธ์ุ และพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน เลขทะเบียน อาหารสัตว์ ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาและคุณภาพของอาหารสัตว์ได้ ว่าได้รับการขึ้นทะเบียนและผ่านการตรวจสอบจากกรมปศุสัตว์แล้ว ทั้งยังแสดงแหล่งที่มาและชนิดของอาหารอีกด้วย วิธีอ่านเลขทะเบียน ตัวเลขสองหลักแรก: แสดงแหล่งที่ผลิต 01 = ผลิตในประเทศ02 = นำเข้า ตัวเลขลำดับที่ 3-4 : แสดงชนิดของอาหาร 07 = อาหารโภชนาการครบถ้วน 08 = อาหารเสริม 09 = อาหารว่าง วันผลิตและวันหมดอายุ วันผลิตและ วันหมดอายุบนฉลากหรือแพ็คเกจจะระบุวันผลิตและหมดอายุ อย่างชัดเจน เพื่อให้น้อง ๆ บริโภคและสามารถใช้สินค้าได้อย่างปลอดภัยและได้รับประโยชน์สูงสุด ปริมาณอาหารต่อถุง ใช้คำนวนปริมาณอาหารเทียบกับจำนวนและน้ำหนักตัวของน้อง ๆ ได้ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้นาน (เพราะหลังจากเปิดถุงแล้ว อาหารอาจเสียคุณภาพได้) วิธีอ่านส่วนผสมอาหารเม็ด เลือกส่วนผสมแรกที่เป็นเนื้อสัตว์แท้ๆ เพื่อโภชนาการที่ดีของลูกรัก จากนั้นจะเป็นปริมาณวิตามิน แร่ธาตุ ที่ถูกเสริมเข้ามาเพื่อให้อาหาร มีคุณค่าทางโภชนาการที่สมบูรณ์พร้อม (Completed & Balanced) ส่วนผสมลำดับที่ 1มีปริมาณเยอะมากสุด และลำดับที่ 2, 3, 4, จะลดลงตามลำดับ เพราะมีข้อกำหนดให้ผู้ผลิตใส่ชื่อส่วนผสมเรียงตามลำดับจากปริมาณมากไปหาน้อย ดังนั้นหากข้างถุงว่ามีเนื้อสัตว์แท้ๆ ขึ้นต้นลำดับที่ 1 หมายความว่า มีเนื้อสัตว์ชนิดนั้นในปริมาณมากที่สุดนั่นเอง 'คําศัพท์' ส่วนผสมอาหารเม็ด เพราะอาหารน้องหมาและน้องแมว มองด้วยตาเปล่าไม่ได้! เราจึงต้องรู้ วิธีอ่านส่วนผสมอาหารเม็ด และเลือกสิ่งที่ ดีพอ และ พอดี กับเขา กลุ่มโปรตีน โปรตีนจากเนื้อสัตว์ Chicken, Lamp, Salmon ฯลฯ ถ้าโปรตีนนั้นมาจาก Chicken, Lamp, Salmon ฯลฯ แสดงว่าแหล่งโปรตีนของอาหารถุงนี้ ได้มาจากเนื้อสัตว์เหล่านั้นเป็นหลัก ซึ่งถือว่าอาหารที่มีโปรตีนประเภทนี้เป็นส่วนประกอบหลักเป็นอาหารที่มีคุณภาพสูง มีคำว่า meat ต่อท้ายชื่อเนื้อสัตว์จะเป็นกลุ่มจำพวกเนื้อสด เช่น Lamp Meat, Chicken Meat ฯลฯ มีคำว่า meal ต่อท้ายชื่อเนื้อสัตว์ เป็นเนื้อสัตว์ที่ผ่านการ อบแห้งแล้วนำมาป่น เช่น Chicken meal , Meat meal ฯลฯ มีคำว่า By-Product หากมีคำนี้อยู่ต่อท้ายชื่อชนิดของเนื้อสัตว์จะเป็นโปรตีนที่นำมาจาก ขนสัตว์ปีก กระดูก เขา หงอน เล็บ เครื่องใน หรือหนัง (ส่วนที่มนุษย์ไม่บริโภค) ซึ่งโปรตีนประเภทนี้ถือว่าเป็นโปรตีนที่มีราคาประหยัด ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตอาหารให้ไม่สูงจนเกินไป เช่น Chicken by product , Meat by product ฯลฯ โปรตีนจากพืช Corn หรือ “ข้าวโพด” ในกรณีที่ขึ้นต้นด้วย Corn หรือข้าวโพด ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ตาม เช่น ground yellow corn, corn meal, corn gluten meal. ข้าวโพดมีหน้าที่หลักคือทำให้อิ่ม และให้โปรตีน ทำให้ผู้ผลิตสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่ม % ของโปรตีนให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามสุนัขและแมวไม่สามารถย่อยข้าวโพด และนำโปรตีนจากข้าวโพด ไปใช้ได้ดีเท่าที่ควร เพราะแม้ว่าในปัจจุบันสุนัขจะมีวิวัฒนาการ จนจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์กินเนื้อและพืช (Omnivores) แต่พื้นฐานเดิมสุนัขนั้นมาจากสัตว์ที่กินเนื้อ รวมถึงแมวที่ยังคงจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่กินเนื้อ (Carnivores) พวกเขาจึงใช้พลังงานจากเนื้อสัตว์และไขมันเป็นหลัก เลือกอาหารสัตว์อย่าดูโปรตีนที่ % ให้ดูที่แหล่งที่มาของโปรตีน โปรตีน% ใน Guaranteed Analysis ใช้ดูความเหมาะสม เพราะหากเด็ก ๆ รับโปรตีนมากเกินความจำเป็น ไตจะทำงานหนัก กลุ่มไขมัน ไขมัน Fat, Oils ควรเลือกฉลากที่ระบุชื่อที่มาของไขมันชัดเจนและควรเป็นไขมันจากสัตว์ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ระบุชนิดของไขมันชัดเจน เช่น ‘vegetable oil,’ ‘poultry fat,’ and ‘mineral oil’ เพราะถือ เป็นไขมันที่คุณภาพไม่ดีนัก มีคำว่า fat มีคำว่าfatเป็นไขมันจากสัตว์เพราะสุนัขและแมว สามารถนำไขมันสัตว์ไปใช้ได้ดีที่สุด ไขมันจากสัตว์เป็นไขมันที่ทำให้ความอยากอาหารของสุนัขและแมวดีขึ้นเช่น chicken fat เช่น chicken fat มีคำว่า oils น้ำมันที่ดีควรมีความสมดุล ของ Omega3 และ Omega6 ที่จะช่วยควบคุมสมดุลภูมิคุ้มกัน เช่น sunflower oil, canola oil, and flaxseed oils กลุ่มคาร์โบไฮเดรตและไฟเบอร์ คาร์โบไฮเดรตและไฟเบอร์ carbohydrates and fiber เช่น rice, oatmeal, millet, amaranth, sweet potatoesand potatoes (ไม่ใช่ potato product) ควรเลือกคาร์บที่ย่อยและดูดซึมได้ง่าย ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ รวมถึงไม่เป็นภาระระบบทางเดินอาหาร Rice หรือ “ข้าว” เป็นวัตถุดิบหลัก จะถือเป็นอาหารที่มีคุณภาพสูง เช่น ข้าวเจ้า ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรรี่ หรือจะเลือกเป็น ถั่วบางชนิดอย่างถั่วลันเตา ถั่วเหลืองที่สุกแล้ว มันฝรั่งที่สุกแล้ว และ ฟักทอง คาร์โบไฮเดรต ข้าวโพด ข้าวสาลี ถือเป็น “กลูเตน” อาจก่อให้เกิด การแพ้ หรือย่อยยาก จึงควรเลือกอาหารที่เป็นสูตร Gluten Free ส่วนผสมที่ควรหลีกเลี่ยง วัตถุกันเสียที่ทำจากสารเคมี เช่น ethoxyquin, BHA, BHT, and propylene glycol เป็นวัตถุกันเสียที่ทำจากสารเคมีหากบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งดังนั้นควรใช้วัตถุกันเสียที่ผลิตจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น Vitamin C และVitamin E จะเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพของน้อง ๆ มากกว่า แต่งสีและรสเลียนแบบธรรมชาติ เช่น การใส่สีแดง ให้อาหารดูเหมือนทำมาจากเนื้อสัตว์ หรือการใส่สีเขียวเพื่อให้ดูเหมือนทำจากผัก ซึ่งการบริโภคส่วนผสมนี้เป็นระยะเวลานาน ๆ ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพสุนัขและแมวได้หากอาหารสัตว์เลี้ยงมีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ การแต่งสีแต่งรสย่อมไม่มีความจำเป็น Feeding Guideline อย่าลืมดู! ปริมาณการให้ต่อวัน น้ำหนักตัว อายุ สายพันธ์ุ กำหนดปริมาณอาหารโดยดูที่ น้ำหนัก > อายุ > สายพันธ์ุ เพื่อกำหนดปริมาณแคลอรี ที่ได้รับต่อมื้อ ให้ความสำคัญ กับ ‘น้ำหนัก’ ของ เด็กๆก่อนต่อมาให้ดู ‘อายุ’ ของเด็กๆ เพื่อดูปริมาณที่แนะนำต่อวัน ว่าต้องให้กี่กรัม (สำหรับอายุ 1 ปีขึ้นไป กินตามปริมาณที่แนะนำ ได้เลย*)ดู ‘สายพันธ์ุ’ ร่วมด้วย เพราะขนาดเด็ก ๆ แต่ละสายพันธ์ไม่เท่ากัน จะดูเพียงน้ำหนักอย่างเดียวไม่ได้ น้องที่ป่วย น้ำหนักตัวมาก หรือน้อยเกินไป ควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อหาปริมาณอาหารที่เหมาะสมต่อมื้อ สรุป! อย่าตัดสินเพียงแค่หน้าถุงหรือคำโฆษณา เพราะไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออาหารหรือ ชื่อสูตรของอาหารที่ฟังดูสวยหรู ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการตลาด ที่จะต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ดึงดูดคนให้ หยิบจับ และตัดสินใจซื้อ จำไว้ว่าเรา ต้องมุ่งไปที่การอ่านฉลากเป็นหลัก อย่าเลือกเพียงเพราะหน้าถุงมีสายพันธ์ุตรงกับที่เราเลี้ยง เพราะการกำหนดค่ามาตรฐานของโภชนาการอาหารสัตว์เลี้ยง ได้มีข้อกำหนดด้วยช่วงอายุ เท่านั้น ไม่ได้มีการ กำหนดค่ามาตรฐานตามสายพันธุ์แต่อย่างใด ค่าโปรตีนอย่าดูแค่เปอร์เซ็นต์! เพราะถึงแม้จะมีตัวเลขเปอร์เซ็นต์โปรตีนที่สูง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำมาจากโปรตีนที่มีคุณภาพเสมอไป ให้สังเกตส่วนผสมหลัก 1-10 ลำดับแรกของอาหาร และอันดับ #1 ควรเป็นเนื้อสัตว์ เลือกอาหารให้เหมาะกับช่วงอายุ เช่น อาหารสุนัขสูงวัย ที่ต้องการสารอาหารแตกต่างจากสุนัขโตทั่วไปหรืออาหารสำหรับลูกแมว อาหารสำหรับแมวโตเต็มวัย ก็ต้องการโภชนาการที่แตกต่างกัน ย้ำว่าให้เลือกจากช่วงอายุ ดูสินค้าทั้งหมด