เคยสงสัยไหมว่าทำไมน้องหมาถึงเปลี่ยนไป ? นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าพวกเค้าเข้าสู่วัยชราแล้วก็เป็นได้ การสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกว่าน้องหมาเริ่มเข้าสู่วัยชรานั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่เราจะได้ดูแลพวกเค้าอย่างเหมาะสม และให้พวกเค้าอยู่กับเราไปนาน ๆ
ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึก 6 สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าน้องหมาของคุณกำลังเข้าสู่วัยชรา และสิ่งที่คุณควรทำเพื่อดูแลพวกเขา เพื่อดูแลน้องหมาให้มีความสุขในช่วงบั้นปลายชีวิต
การแบ่งอายุสุนัขแต่ละช่วงวัยตามสายพันธุ์สุนัข
การเข้าสู่ช่วงสูงวัยของสุนัขนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ ดังต่อไปนี้
1. พันธุ์จิ๋ว (Tiny)
- น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มวัย < 4 กิโลกรัม
- เข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยตอนอายุ 10 เดือน
- สูงวัยตอนอายุประมาณ 8 ปี
2. พันธุ์เล็ก (Small)
- น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มวัย < 10 กิโลกรัม
- เข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยตอนอายุ 10 เดือน
- สูงวัยตอนอายุประมาณ 8 ปี
3. พันธุ์กลาง (Medium)
- น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มวัย 11-25 กิโลกรัม
- เข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยตอนอายุ 12 เดือน
- สูงวัยตอนอายุประมาณ 7 ปี
4. พันธุ์ใหญ่ (Large)
- น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มวัย 26-44 กิโลกรัม
- เข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยตอนอายุประมาณ 15-18 เดือน
- สูงวัยตอนอายุประมาณ 5-6 ปี
5. พันธุ์ยักษ์ (Giant)
- น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มวัย > 45 กิโลกรัม
- เข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยตอนอายุประมาณ 18-24 เดือน
- สูงวัยตอนอายุประมาณ 5 ปี
โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแบ่งช่วงวัยของสุนัขได้ ที่นี่
สัญญาณเตือนของน้องหมาแก่
1. สายตาเริ่มไม่ดี
ปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยในสุนัขอายุ 7 ปีขึ้นไป คือ ภาวะเลนส์ขุ่น (Senile nuclear sclerosis) ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ขุ่นมัวขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะไม่ใช่โรค แต่ก็ส่งผลต่อการมองเห็นของน้องหมาอย่างแน่นอน
โดยภาวะเลนส์ขุ่น มีความคล้ายคลึงกับ ต้อกระจก (Cataract) ที่เป็นความผิดปกติร้ายแรงและอาจทำให้สุนัขตาบอดได้ ต้อกระจกสามารถเกิดขึ้นได้กับสุนัขทุกวัย และทุกสายพันธุ์ ต้อกระจกจะทำให้เลนส์ทึบแสงจนสุนัขไม่สามารถมองเห็นได้ ดังนั้นการเป็นต้อกระจกก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยในน้องหมาแก่ที่เริ่มมีอายุแล้ว แต่กับภาวะเลนส์ขุ่นนั้นมักพบได้ทั่วไปในสุนัขสูงวัย
อย่างไรก็ตามแม้สุนัขที่เป็นเลนส์ขุ่นจะยังมองเห็นได้บ้าง แต่การมองเห็นที่ลดลงก็อาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น
- เดินชนสิ่งของ อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ
- ข้ามถนนไม่ระมัดระวัง อาจทำให้เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
- ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมยากขึ้น ทำให้เกิดความเครียดได้
2. เริ่มมีกลิ่นปาก
ปัญหาหินปูนที่ฟัน และเหงือกอักเสบ ถือเป็นโรคยอดฮิตติดอันดับต้น ๆ ของน้องหมาแก่ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดกลิ่นปากนั่นเอง หากปล่อยทิ้งไว้ อาจนำไปสู่โรคที่รุนแรงกว่า และส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของสุนัขได้
สาเหตุของกลิ่นปากในสุนัขเกิดจากการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งมักเกิดจากการให้อาหารเปียกมากเกินไป การไม่แปรงฟันให้สุนัขเป็นประจำ และพันธุกรรม อาหารเปียกบางชนิดมีเนื้อสัมผัสที่ติดตามซอกฟันได้ง่าย ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโต และก่อให้เกิดกลิ่นปากและโรคเหงือก
คุณพ่อคุณแม่จึงควรแปรงฟันให้สุนัขเป็นประจำ โดยควรแปรงฟันให้สุนัขอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และเลือกอาหารที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับอายุ และสายพันธุ์ของสุนัข
3. เริ่มมีปัญหาในด้านพฤติกรรม และจิตใจ
สำหรับน้องหมาแก่แล้ว โรคหนึ่งที่อาจพบได้ก็คือ โรคอัลซัลเมอร์ในสุนัข (Canine Cognitive Dysfunction Syndrome; CCDS) ซึ่งคล้ายคลึงกับโรคอัลไซเมอร์ในคน จนเป็นสาเหตุที่ทำให้สุนัขมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ซึ่งมีสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้
- สุนัขอาจจะกำลังมองหาอะไรบางอย่าง แต่ความจำที่เลือนรางทำให้สับสนไม่รู้จะไปทางไหน
- สับสน มึนงง ไม่รู้จักที่คุ้นเคย หลงทางในบ้าน
- การหวาดกลัวสิ่งของหรือคนที่ควรจะคุ้นเคย
- การเห่าหรือร้องครวญครางที่มากขึ้น
- ความรู้สึกที่วิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น
4. เริ่มไม่สนใจเสียงเรียก
คุณพ่อคุณแม่บางบ้านอาจกำลังประสบปัญหากับการเรียกน้องหมาเหมือนเคย แต่พวกเค้ากลับเมินเฉยราวกับไม่สนใจไยดี ปัญหานี้เกิดขึ้นได้บ่อยกับน้องหมาแก่ โดยสาเหตุหลัก ๆ อาจเป็นเพราะ
- ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากหูของน้องหมาอาจเสื่อมสมรรถนะ ทำให้ได้ยินเสียงไม่ชัดเจนเท่าเดิม
- ความขี้เกียจ เพราะสุนัขสูงวัยมักจะขี้เกียจ และไม่อยากขยับตัวมากนัก
ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่อยากจะเล่นกับพวกเค้าเหมือนเดิม ลองเดินเข้าไปใกล้ ๆ น้องหมา แล้วเรียกชื่อเบา ๆ พร้อมกับลูบตัวเบา ๆ เพื่อให้รู้ว่าเราอยู่ใกล้ ๆ เพื่อให้น้องหมาพอรู้ตัว และไม่ตกใจจนเกินไป
5. เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง
หากเราเริ่มสังเกตเห็น น้องหมาเริ่มขี้เกียจไม่กระฉับกระเฉงเหมือนเดิม อาการเคลื่อนไหวช้าลง ไม่ค่อยอยากเดินหรือกระโดด ถือเป็นสัญญาณเตือนสำคัญสำหรับน้องหมาแก่เลยทีเดียว และอาจรวมถึงปัญหาเรื่องข้อต่อเสื่อมที่สามารถเกิดได้ง่ายขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้ด้วยการเสริมอาหารเสริมข้อต่อ ที่มีส่วนผสมของคอนดรอยติน และกลูโคซามีน จะช่วยบำรุงข้อต่อให้แข็งแรง
6. น้ำหนักตัวเริ่มเปลี่ยนแปลง
น้องหมาแก่ส่วนใหญ่มักเผชิญกับปัญหาการเคลื่อนไหวที่ลดลง และหากยังคงรับประทานอาหารในปริมาณเท่าเดิมหรือมีพฤติกรรมการกินขนม และอาหารคนร่วมด้วย อาจนำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกินได้ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เร่งให้ข้อต่อเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
เนื่องจากข้อต่อต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น การออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยลดแรงกระแทกต่อข้อต่อ แต่การควบคุมอาหารก็สำคัญไม่แพ้กัน การให้อาหารเม็ดที่มีปริมาณไขมันต่ำในสัดส่วนที่เหมาะสมจะช่วยควบคุมน้ำหนัก และสุขภาพโดยรวมของสุนัขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการดูแลน้องหมาแก่
การดูแลน้องหมาแก่ให้มีสุขภาพดีนั้น จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือการปรับเปลี่ยนอาหารให้เหมาะสมกับวัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยความต้องการของพวกเค้ามักจะมีดังนี้
- อาหารต้องมีโปรตีนสูง และต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อที่ลดลงตามอายุ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และเคลื่อนไหวได้คล่องตัว เพราะหากทานอาหารที่มีโปรตีนสูงมากไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตับ และไตได้
- มีไขมันต่ำ เพื่อลดความเสี่ยงโรค ควรเลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ เนื่องจากระบบเผาผลาญของสุนัขสูงวัยทำงานได้ช้าลง การรับประทานไขมันมากเกินไปอาจนำไปสู่ภาวะอ้วน และโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
- คุณภาพดี ย่อยง่าย อาหารที่มีคุณภาพดี ย่อยง่าย และมีกลิ่นหอมน่ากิน จะช่วยกระตุ้นให้น้องหมาทานอาหารได้อย่างอร่อย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และที่สำคัญ การเปลี่ยนอาหาร ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยผสมอาหารสูตรใหม่กับสูตรเดิม เพื่อให้ระบบทางเดินอาหารของสุนัขปรับตัวได้ และลดความเสี่ยงต่อการท้องเสีย
โดยเราขอแนะนำ Pawdy holistic สูตร Maturity senior 7+ รสแกะและปลา ผสมเนื้อจระเข้ อาหารสูตรพิเศษสำหรับสุนัขสูงวัยโดยเฉพาะ พัฒนาสูตรร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพสูง ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อ และระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ย่อยง่าย ดูดซึมได้ดี เหมาะกับระบบทางเดินอาหารของสุนัขสูงวัย มีส่วนผสมของ Bovine Plasma + กระตุ้นความอยากอาหาร ทำให้น้องหมาทานได้อย่างเอร็ดอร่อย แถมยังมีสารอาหารครบถ้วน ช่วยให้น้องหมาสุขภาพแข็งแรง อายุยืน พร้อมผจญภัยไปกับพวกเราได้อีกนานแน่นอน หากสนใจ สามารถสั่งซื้อได้ ที่นี่ เลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คู่มือประกอบการสอบประเมินความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานทางสัตวแพทย์ (หมวด 3 ความสามารถในการปฏิบัติงาน) เล่ม 2
วิดีโอสำหรับทบทวนความรู้ขั้นพื้นฐานสำหรับการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงและสัตว์เลี้ยงพิเศษ จาก VPAT academy
https://www.carecredit.com/well-u/pet-care/signs-of-aging-dogs