สุนัขอ้วนหรือแมวอ้วน อาจเป็นภาพที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนมองพวกเค้าว่าน่ารัก ควรคิดใหม่ได้เลยนะ เพราะโรคอ้วนในสัตว์เลี้ยง สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของน้อง ๆ อย่างร้ายแรง ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนเคย รวมถึงอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้มากมาย
ดังนั้น ในบทความนี้ พอดี้ จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน ไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาปัญหาสุนัขอ้วนหรือแมวอ้วน เพื่อให้น้อง ๆ มีสุขภาพที่ดี และอยู่กับเราไปได้อีกนาน
โรคอ้วนในสุนัข และแมว
เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในสัตว์เลี้ยงยุคปัจจุบัน เกิดจากการที่สัตว์เลี้ยงได้รับพลังงานจากอาหารมากกว่าที่ร่างกายใช้ ทำให้เกิดไขมันส่วนเกินในร่างกาย จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้หลายด้าน
โดยการเกิดโรคอ้วนในสัตว์เลี้ยงมีด้วยกันอยู่หลายสาเหตุ และหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้
สาเหตุที่ทำให้สุนัข และแมวอ้วน
- การกินมากเกินไป (Overeating)
การให้อาหารกับน้องหมา น้องแมวมากเกินไป ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดโรคอ้วนเลยก็ว่าได้ เพราะทำให้พลังงานที่ได้รับมา มากกว่าพลังงานที่ใช้ จึงสะสมเป็นไขมัน รวมถึงการให้ขนมกับพวกเค้าก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคอ้วนด้วยเช่นกัน
- การออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ (Lack of exercise)
หากน้องหมาน้องแมวขาดการออกกำลังกาย พวกเขาจะอ้วนได้ง่ายขึ้น เนื่องจากร่างกายไม่ได้เผาผลาญพลังงานที่ได้รับจากอาหาร ทำให้ไขมันสะสม
- อาหารที่ไม่ได้คุณภาพ (Poor diet)
อาหารสัตว์เลี้ยงบางชนิด อาจมีคุณค่าทางอาหารไม่ครบถ้วน หรือมีส่วนผสมที่ไม่เหมาะสม ทำให้น้องได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือมากเกินไป รวมถึงอาหารที่ทำเองก็อาจขาดความสมดุลทางโภชนาการได้เช่นกัน
- สายพันธุ์ (Breed)
สุนัข และแมวบางสายพันธุ์มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะอ้วน โดยในพันธุ์สุนัขที่นิยมเลี้ยง และมีความเสี่ยงได้แก่ ปั๊ก,ลาบราดอร์,บีเกิล ส่วนในสายพันธุ์แมวที่พบบ่อย เช่น อเมริกันช็อตแฮร์มักมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน เนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรม และพฤติกรรมการกินที่แตกต่างกันไป
- อายุ (Age)
เนื่องจากน้องหมา และน้องแมวมีความต้องการพลังงานแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ดังนั้นหากได้รับพลังงานที่ไม่เหมาะสมกับวัย ก็อาจนำไปสู่การสะสมไขมันส่วนเกินจนเกิดเป็นโรคอ้วนได้
- การทำหมัน (Neutering)
การทำหมันเป็นหนึ่งในปัจจัยที่อาจส่งผลให้น้ำหนักของสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนหลังการผ่าตัด จะทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ช้าลง ส่งผลให้น้องหมา น้องแมวมีแนวโน้มที่จะอ้วนได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
เมื่อทราบสาเหตุที่ทำให้น้องหมา น้องแมวต้องเผชิญกับโรคอ้วนกันแล้ว เรามาดูกันว่าโรคอ้วนนี้ส่งผลให้น้องหมา น้องแมว เสี่ยงต่อการเกิดโรคใดได้บ้าง
โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดเมื่อสุนัข และแมวอ้วน
- โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
นอกจากพวกเราแล้ว น้องหมาน้องแมวเองก็สามารถเป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน โดยจะเกิดจากร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ทำให้น้ำตาลสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกับสุนัขอ้วนหรือแมวอ้วน จะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานสูง เพราะร่างกายจะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งฮอร์โมนที่ช่วยลดระดับน้ำตาล เมื่อไม่สามารถลดระดับน้ำตาลได้ จึงทำให้น้ำตาลไปสะสมในเลือดมากขึ้นจนอาจเกิดโรคเบาหวานได้นั่นเอง
ในบางรายงานพบว่า แมวอ้วนมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานสูงกว่าแมวที่มีน้ำหนักปกติถึง 2 เท่าเลยทีเดียว โดยสาเหตุหลักมาจากภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้แมวรู้สึกหิวบ่อย และกินมากขึ้น จนทำให้ปัญหาโรคอ้วนรุนแรงขึ้นไปอีก
- โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal diseases)
เกิดขึ้นได้บ่อยในสุนัขอ้วนหรือแมวอ้วน โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อม และเอ็นฉีก เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะไปกดทับข้อต่อ และเอ็น ทำให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้น และอาจนำไปสู่การแตกหักได้ หากน้องหมาหรือน้องแมว มีอาการผิดปกติ เช่น เดินกะเผลก ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาที่เหมาะสม
- โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
มีงานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า โรคอ้วนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง เพราะเมื่อมีไขมันสะสมมากเกินไป ร่างกายจะทำงานหนักขึ้น ทำให้ความดันในหลอดเลือดสูงขึ้นตามไปด้วย หากปล่อยปละละเลย ความดันโลหิตสูงที่เกิดจากโรคอ้วนอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อดวงตา หัวใจ และไต ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น โรคตาจากความดันสูง และโรคไตวายเรื้อรัง ดังนั้น การควบคุมน้ำหนักจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกัน และรักษาโรคเหล่านี้
เมื่อเราเข้าใจถึงสาเหตุ และผลกระทบของโรคอ้วนที่อาจเกิดขึ้นกับน้องหมา น้องแมวของเราแล้ว ก็มาสู่วิธีการดูแล และป้องกัน เพื่อไม่ให้พวกเค้าต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ ในอนาคตกัน
วิธีดูแล และป้องกันปัญหาโรคอ้วนในสัตว์เลี้ยง
- ออกกำลังกาย โดยการพาพวกเค้าออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเล่น วิ่ง
- ควบคุมปริมาณอาหาร และปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสมกับอายุ น้ำหนักของพวกเค้า
- เลือกอาหารที่มีคุณภาพ ควรเลือกอาหารสัตว์ที่มีโปรตีนคุณภาพสูง ไขมันต่ำ และมีส่วนผสมที่ครบถ้วน ตรงต่อความต้องการ
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ พาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และขอคำปรึกษาหากจำเป็น
และสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ที่กำลังเผชิญกับน้องหมาที่บ้านมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน พอดี้ ขอแนะนำ Pawdy Care More Weight control อาหารสุนัข สูตรควบคุมน้ำหนักตัว ซึ่งมีส่วนผสมของอกไก่ ให้โปรตีนคุณภาพสูง ไขมันต่ำ ย่อยง่าย ช่วยให้น้องหมาแข็งแรง และยังอุดมไปด้วยแอลคาร์นิทีน ช่วยในเรื่องการเผาพลาญพลังงาน และยังช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี
นอกจากนี้ ยังมี Bovine plasma + ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงผิวหนัง และขนให้สวยเงางาม เรียกได้ว่า ตอบโจทย์ทุกความต้องการของน้องหมาที่ต้องการควบคุมน้ำหนักเลยทีเดียว สนใจ สั่งซื้อ ได้ที่นี่เลย
หรือถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคอ้วนในสุนัข สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มได้ที่ วิธีดูแลสุนัขเมื่อเป็นโรคอ้วน แบบไม่ต้องอดอาหาร
ปัญหาโรคอ้วนในสัตว์เลี้ยงเป็นเรื่องที่พวกเราควรต้องใส่ใจให้มาก เพราะนอกจากจะทำให้น้องหมา น้องแมวใช้ชีวิตได้อย่างลำบากแล้ว ยังเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงอีกมากมาย การดูแลสุขภาพ และสังเกตอาการผิดปกติอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรให้กับพวกเค้าอย่างจริงจัง เพราะความสุขของพวกเค้า ก็คือความสุขของเรา จริงไหม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Greencross vets. The Risks For Overweight Pets. Retrieved Aug 14,2024,from https://www.greencrossvets.com.au/pet-library/articles-of-interest/the-risks-for-overweight-pets/
Mayra Paris and Paul Reynolds. How to Care For Overweight Dogs and Cats. Retrieved Aug 14,2024,from https://money.com/care-for-fat-cats-and-fat-dogs/#What