คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังเลี้ยงน้องปอมหรือสุนัขพันธุ์ขนยาวอื่น ๆ อย่าง เชาเชาหรือซามอยด์ อาจสังเกตเห็นความผิดปกติบางอย่าง คือนอกจากขนน้องจะร่วงลงไปแล้ว ยังกลับพบว่าผิวหนังบริเวณที่ขนร่วงนั้นกลายเป็นสีดำเข้มขึ้น สาเหตุที่ทำให้ผิวสุนัขเปลี่ยนเป็นสีดํานี้อาจเป็นเพราะโรค Black Skin นั่นเอง
โดยเจ้าโรค Black Skin หรือโรคผิวหนังดำ เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ขนยาว โดยเฉพาะเจ้าปอมเมเรเนียน ซึ่งส่งผลให้ขนร่วงเป็นหย่อม ๆ และผิวหนังบริเวณนั้นเปลี่ยนเป็นสีดำเข้ม แม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อความสวยงาม และคุณภาพชีวิตของน้องหมาอย่างมาก
แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปไกล เพราะในบทความนี้ เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มาเข้าใจถึงสาเหตุของโรคว่าเกิดจากอะไร และเราจะมีวิธีสังเกตถึงอาการของโรคนี้ได้อย่างไร รวมถึงวิธีการรักษา และการดูแล ป้องกัน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลลูก ๆ ที่น่ารักของเรานั่นเอง งั้นเราไปดูพร้อม ๆ กันโดยเริ่มจากโรคนี้คืออะไรกันก่อนเลย
ผิวสุนัขเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจเกิดจากโรค Black Skin
โรค Black Skin หรือ Alopecia X เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และอาจมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ความเครียด โรคอ้วนหรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
โรค Black Skin พบในสุนัขพันธุ์อะไรบ้าง?
โรค Black Skin สามารถพบได้ในสุนัขทุกสายพันธ์ุ และทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในน้องหมาขนยาว และเป็นเพศผู้ เช่น
- ปอมเมอเรเนียน (Pomeranian)
- เชาเชา (Chow Chow)
- ไซบีเรียนฮัสกี้ (Siberian Husky)
- คีชอน (Keeshonds)
- ซามอยด์ (Samoyeds)
- อะแลสกันมาลามิวท์ (Alaskan Malamutes)
- มินิเจอร์พุดเดิล (Miniature Poodles)
สัญญาณบ่งบอกว่าน้องหมาเป็นโรค Black Skin
โดยปกติแล้วโรค Black skin เป็นโรคที่อาการจะค่อย ๆ แสดงออกมาอย่างช้า ๆ และไม่ค่อยแสดงอาการที่ส่งผลต่อระบบในร่างกายโดยตรง แต่ยังสามารถสังเกตเบื้องต้นได้ดังนี้
- สีขนของน้องอาจจะดูเปลี่ยนไป และไม่ชุ่มชื้น
- ขนร่วงเป็นหย่อม ๆ โดยเฉพาะบริเวณลำตัว หลัง หาง และขา
- ขนที่เหลืออาจมีลักษณะแห้งกรัง และขาดได้ง่าย
- ผิวสุนัขเปลี่ยนเป็นสีดํา โดยเฉพาะบริเวณที่ขนร่วง
- ไม่มีขนใหม่ขึ้นมาทดแทนหรือถ้ามีก็จะขึ้นน้อย และไม่แข็งแรงเท่าเดิม
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น มีอาการคัน อยากอาหารน้อยลง แต่พบได้น้อย
- หากพบจุดสีดำบริเวณพุง หัวนมหรืออวัยวะเพศของน้อง ถือว่าเป็นสัญญาณระยะเริ่มต้นของโรค
โรคนี้มักพบในน้องหมาเพศผู้ที่มีอายุเกิน 2-3 ปี หากสังเกตว่าน้องมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพาไปหาสัตวแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพราะยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่ โอกาสที่ขนจะกลับมาสวยงาม และคืนความมั่นใจให้น้องได้ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย เพราะขนก็เหมือนเสื้อผ้าตัวโปรดของน้องหมา ถ้าไม่มีก็คงรู้สึกเหงา ๆ เศร้า ๆ แน่เลย จริงมั้ย
วิธีวินิจฉัย และการรักษาโรค Black Skin
เนื่องจาก โรค Black skin ในปัจจุบันยังหาสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดไม่ได้ดังนั้นการวินิจฉัยจะทำโดยวิธีการคัดแยกโรคที่ไม่ใช่ออกก่อน เพื่อคัดกรองโรคขนร่วงจากสาเหตุต่าง ๆ ออกก่อน เช่น
- ซักประวัติ และตรวจร่างกายทั่วไป
- ตรวจโรคผิวหนังอื่น ๆ
- ตรวจเชื้อรา
- ตรวจโรคภูมิแพ้
- ตรวจเลือด
- ตรวจความสมดุลของฮอร์โมน เพราะสาเหตุที่ทำให้ขนร่วงอาจจะเกิดจากฮอร์โมนไทรอยด์น้อยกว่าปกติหรือฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไปนั่นเอง
เมื่อทำการตัดโรคอื่น ๆ ออกไปจนได้ข้อสรุปว่าน้องเป็น โรค Black skin แล้วจึงค่อยทำการรักษากันต่อไป โดยวิธีรักษาหลัก ๆ ที่ได้รับการยอมรับ และใช้กันอย่างแพร่หลายมีด้วยกัน 3 วิธี
- การทำหมัน
เป็นวิธีการรักษาที่สัตวแพทย์แนะนำมากที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น มะเร็งอัณฑะ มะเร็งมดลูก และโรคติดเชื้อ ช่วยให้พวกเค้ามีอายุยืนขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้น
- การใช้เมลาโทนิน (Melatonin)
ถือเป็นยาที่ใช้แพร่หลายในการช่วยเรื่องโรคขนร่วงเพราะมีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อย ทำให้สุนัขมีอาการง่วงเพียงเท่านั้น โดยปกติแล้วตัวยาตัวนี้จะใช้เวลา 6 ถึง 8 สัปดาห์ในการทำให้ขนกลับมายาวสลวยเหมือนเดิม
- การใช้ยาไตรโลสเทน (Trilostane)
เป็นยาที่เห็นผลลัพธ์มากที่สุด แต่ก็เป็นวิธีที่สัตวแพทย์ไม่แนะนำเสียเท่าไหร่ นั่นเป็นเพราะตัวยาจะส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนคอร์ติซอล และอาจจะทำให้น้องหมาอ้วก และท้องเสียได้อีกด้วย ยาตัวนี้จึงห้ามใช้กับน้อง ๆ ที่เป็นโรคไต ตับ และกำลังตั้งครรภ์
นอกจากวิธีที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการรักษาแบบอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝัง Growth Hormone หรือการใช้แชมพูสูตรพิเศษเพื่อบำรุงผิวหนังให้ชุ่มชื้น
อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาโรค Black skin ควรเป็นไปตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพราะแม้ว่าโรคนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของน้อง แต่หากเลือกวิธีการรักษาที่ไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ มาสู่น้องได้นั่นเอง
และคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังมองหา แชมพูสูตรพิเศษ ที่ช่วยบำรุงผิวหนังให้ชุ่มชื้น เพื่อป้องกันโรค Black skin ขอแนะนำ Pawdy Shampoo FURMORE Anti-Fur Loss สูตรลดขนร่วง ป้องกันขนหลุดร่วง เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับรากขน ช่วยให้ขนมีชีวิตชีวา และมีสุขภาพดี ผ่านการทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ และมีส่วนผสมธรรมชาติจากเยอรมนี สนใจสั่งซื้อได้ ที่นี่ เลย
วิธีการป้องกันโรค Black Skin
เนื่องจากโรคนี้ไม่เป็นอันตรายต่อระบบร่างกาย นอกจากการดูแลรักษาตามสัตวแพทย์แนะนำแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถช่วยป้องกันโรคนี้ได้ด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสุนัขได้ด้วยการ
- การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน
- ดูแลสุขอนามัยของพวกเค้าเป็นประจำ
- พาน้องหมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รักษาความสะอาดของที่นอน และของเล่นของสุนัขอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับอาหารสูตร Holistic ที่คุณพ่อคุณแม่กำลังมองหาเพื่อให้ลูกรักได้รับสารอาหารที่ครบองค์รวม ขอแนะนำ อาหารสุนัข Pawdy Holistic ทั้ง 4 สูตร ซึ่งมีความเหมาะสมแตกต่างกันไป ตามสุนัขแต่ละช่วงวัย ใช้โปรตีนคุณภาพจากเนื้อสัตว์แท้ ๆ ทำให้สุนัข ย่อย และดูดซึมได้ดี มี Bovine Plasma + ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงช่วยให้ขน และผิวหนังแข็งแรงขึ้นด้วยนั่นเอง สนใจสั่งซื้อได้ ที่นี่
เมื่อลูกรักได้รับอาหารที่ดีมีคุณภาพ รวมถึงการดูแลที่เหมาะสม ผิวหนังสีดำที่คอยสร้างความกังวลใจก็จะหายไป และกลับมามีขนสวย แข็งแรงอีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอนน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Dog alopecia X or black skin disease – causes, prevention and how to H. ZOOMADOG. (n.d.). https://zoomadog.co.uk/collections/black-skin-alopecia
Ferreira, M. A., Carvalho, V. M., Dutra, M. da, Rodrigues, F. R., Viana, D. de, & Ferreira, T. C. (2022). Alopecia X in dogs: Report of seven cases. Research, Society and Development, 11(10). https://doi.org/10.33448/rsd-v11i10.32652
Pinchback, L. (2024, April 25). Alopecia X in dogs (hair cycle arrest). MedVet. https://www.medvet.com/alopecia-x-in-dogs-hair-cycle-arrest/
โรคขนร่วงประหลาดในน้องหมาปอม (Black skin/alopecia x) – hospetal. hospetal.co.th. (n.d.). https://www.hospetal.co.th/content/3886/pom-dog-blackskin