เจาะลึก โรคเอดส์แมว คืออะไร? สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกันที่ควรรู้

เจาะลึก โรคเอดส์แมว คืออะไร? สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกันที่ควรรู้

ทาสแมวหลายคนอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับโรคเอดส์แมวหรือ Feline Immunodeficiency Virus (FIV) กันมาบ้าง แต่โรคเอดส์แมวคืออะไรกันแน่ ? มีสาเหตุจากอะไร ? สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ? และหากน้องแมวของเราติดเชื้อ จะดูแล และป้องกันได้อย่างไร ? บทความนี้จะพาเหล่าทาสแมวมาทำความรู้จักกับโรคเอดส์แมวอย่างละเอียด พร้อมวิธีการดูแล และป้องกันที่ถูกต้อง เพื่อให้เจ้านายตัวน้อยของเราห่างไกลจากโรคนี้ที่สุด

โรคเอดส์แมว คืออะไร?

โรคเอดส์แมวหรือ FIV (Feline Immunodeficiency Virus) คือโรคที่เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Lentivirus ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโรคเอดส์ในมนุษย์ เชื้อ FIV สามารถพบได้ในน้ำลาย น้ำไขสันหลัง และเลือดของแมวที่ติดเชื้อ เมื่อแมวติดเชื้อ FIV ระบบภูมิคุ้มกันของพวกเค้าจะอ่อนแอลง ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย และโรคมะเร็งบางชนิดมากขึ้น โดยโรคนี้สามารถแพร่กระจายจากแมวสู่แมวผ่านการกัดหรือสัมผัสสารคัดหลั่งของแมวที่ติดเชื้อ

สาเหตุของการเกิดโรคเอดส์แมว

โรคเอดส์แมวสามารถติดต่อได้หลายทาง โดยมักพบในแมวที่เลี้ยงแบบระบบเปิดหรือเลี้ยงแบบปล่อย แมวจรจัดหรือแมวที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ เนื่องจากการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นผ่านช่องทางต่อไปนี้

  • การกัด – เป็นสาเหตุหลักของการแพร่เชื้อ โดยเชื้อไวรัสจะอยู่ในน้ำลายของแมวที่ป่วย
  • บาดแผล – การสัมผัสเลือดของแมวที่ป่วยผ่านบาดแผล
  • น้ำลาย และเลือด – การสัมผัสโดยตรงกับน้ำลายหรือเลือดของแมวที่ติดเชื้อ

นอกจากนี้ยังสามารถยังสามารถติดต่อกันจากแม่สู่ลูก และติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก อย่างไรก็ตามโรคเอดส์แมวไม่สามารถติดต่อสู่คน สุนัขหรือสัตว์อื่นนอกจากสัตว์ตระกูลแมวได้

อาการของโรคเอดส์แมว

อาการของโรคเอดส์แมวนั้นไม่มีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน โดยอาการที่พบจะขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันของแมว หากแมวมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ก็สามารถต้านทานการติดเชื้อแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ แต่หากภูมิคุ้มกันลดลงหลังการติดเชื้อ อาจทำให้แสดงอาการป่วย และเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา โดยอาการที่อาจพบมีดังนี้

  • มีไข้
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลดลง
  • อ่อนเพลีย
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ช่องปาก และเหงือกเกิดการอักเสบ
  • หายใจติดขัด
  • ท้องเสีย
  • ตาอักเสบ (แดง และบวม)
  • ไอหรือจาม
  • แสดงอาการทางระบบประสาท เช่น กระวนกระวาย เดินวนไปมาหรืออาจมีอาการชักได้

การรักษา และดูแลแมวที่ป่วยเป็นโรคเอดส์แมว

การรักษาโรคเอดส์แมว เป็นการดูแลแบบประคับประคอง เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ เป้าหมายหลักของการรักษาจึงเป็นการควบคุมอาการเพื่อลดความรุนแรงของโรค และป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน เพื่อให้แมวมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

แนวทางการดูแลหลัก ๆ จึงได้แก่

  1. การรักษาตามอาการ
    • หากแมวมีอาการติดเชื้อแบคทีเรีย สัตวแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการติดเชื้อแทรกซ้อน
    • หากมีอาการอักเสบในช่องปากหรือเหงือก อาจมีการให้ยาแก้อักเสบหรือการทำความสะอาดช่องปาก
    • การให้สารน้ำในกรณีที่แมวมีภาวะขาดน้ำ
  2. การดูแลสุขภาพโดยรวม
    • การดูแลความสะอาด และสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
    • การลดความเครียดของแมว เพราะความเครียดสามารถส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกัน
    • การให้อาหารที่มีคุณภาพ และโภชนาการครบถ้วน เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน 

ขอแนะนำ Pawdy Holistic Feline อาหารแมวคุณภาพเกรด Holistic ซึ่งมีส่วนผสมจากเนื้อสัตว์แท้ พร้อมสารอาหารครบถ้วนที่จำเป็นต่อสุขภาพของน้องแมว และมีส่วนผสมของเบต้ากลูแคน ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสการติดเชื้อ สนใจสั่งซื้อเพื่อน้องแมวที่รักได้ ที่นี่

  1. การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
    • สัตวแพทย์อาจพิจารณาให้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพื่อช่วยให้ร่างกายแมวต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดีขึ้น
  2. การตรวจสุขภาพเป็นประจำ
    • การพาแมวไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำ เพื่อติดตามอาการ และตรวจหาการติดเชื้อแทรกซ้อนตั้งแต่เนิ่น ๆ

การป้องกันโรคเอดส์แมว

  1. แยกแมวที่ติดเชื้อ
    • จัดพื้นที่เฉพาะ – แยกแมวที่ติดเชื้อออกจากแมวตัวอื่น จัดพื้นที่เฉพาะให้แมวที่ติดเชื้อ เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อ
    • แยกอุปกรณ์ – แยกอุปกรณ์การกินอาหาร น้ำดื่ม และกระบะทรายของแมวที่ติดเชื้อออกจากแมวตัวอื่น และทำความสะอาดอุปกรณ์เหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัส – หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงระหว่างแมวที่ติดเชื้อกับแมวตัวอื่น รวมถึงการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย และเลือด
    • กระบะทรายแยก – จัดกระบะทรายแมวแยกเฉพาะสำหรับแมวที่ติดเชื้อ และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
  2. เลี้ยงแมวในระบบปิด
    • เลี้ยงภายในบ้าน – เลี้ยงแมวภายในบ้านเท่านั้น ไม่ให้ออกไปนอกบ้านเกินความจำเป็น
    • ป้องกันการออกนอกบ้าน – ติดมุ้งลวดหรือตาข่ายที่หน้าต่าง และระเบียง เพื่อป้องกันแมวออกไปนอกบ้าน
    • สร้างพื้นที่เล่น – สร้างพื้นที่เล่น และออกกำลังกายภายในบ้าน เพื่อให้แมวได้ออกกำลังกาย และลดความเครียด
    • หลีกเลี่ยงแมวจรจัด – หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแมวจรจัด เพราะอาจเป็นพาหะของโรคเอดส์
  3. ทำหมันแมวตัวผู้
    • ลดพฤติกรรมก้าวร้าว – การทำหมันช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว และการต่อสู้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการแพร่เชื้อ
    • ลดความเสี่ยง – ลดความเสี่ยงในการรับ และแพร่เชื้อเอดส์แมวผ่านการกัดกัน
    • พฤติกรรมสงบ – ทำให้แมวมีพฤติกรรมสงบ และอยู่กับบ้านมากขึ้น
  4. การเตรียมบ้านก่อนรับน้องแมวใหม่
    • ทำความสะอาด – ทำความสะอาดพื้นที่เลี้ยงแมวให้ทั่วก่อนรับแมวใหม่
    • เปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ – เปลี่ยนกระบะทราย และอุปกรณ์ที่สัมผัสโดยตรงกับแมวตัวเก่าหรือทำความสะอาด ฆ่าเชื้อให้เรียบร้อย
    • พื้นที่แยก – จัดเตรียมพื้นที่ และอุปกรณ์แยกเฉพาะสำหรับแมวใหม่ เพื่อสังเกตอาการ และป้องกันการแพร่เชื้อ
  5. การตรวจสุขภาพ
    • ตรวจหาเชื้อ – ตรวจหาเชื้อเอดส์แมว ในแมวใหม่ก่อนนำมาเลี้ยงรวมกับแมวตัวอื่น
    • ตรวจประจำปี – พาแมวไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำ เพื่อตรวจหาเชื้อเอดส์แมว และติดตามสุขภาพโดยรวม

จะเห็นได้ว่าโรคเอดส์แมวเป็นโรคร้ายแรงที่ทาสแมวควรให้ความสำคัญ แม้จะรักษาไม่หาย แต่ก็สามารถป้องกัน และดูแลได้ หากสังเกตเห็นอาการผิดปกติควรรีบพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อให้แมวได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

FIV in Cats | PetMD

โรคเอดส์แมว คืออะไร? เกิดจากสาเหตุใด – Bolttech Blog 

ทำความรู้จัก โรคเอดส์แมว โรคในแมวที่รักษาไม่หายขาดแต่ป้องกันได้ – โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน ข้อมูลสุขภาพสัตว์เลี้ยง 

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top