รวมสาเหตุ ‘น้องแมวขนร่วงเยอะ’เพราะอะไร!? พร้อมวิธีดูแล

เป็นปกติสำหรับทาสแมวที่เราจะเห็นขนของเจ้านายตัวน้อยร่วงตามพื้น ที่ที่นอนหรือโซฟาได้เป็นปกติ แต่ก็มีบางครั้งที่ขนของน้องแมวร่วงเป็นกระจุก ๆ แล้วอาการนี้หมายถึงอะไรกันแน่ เป็นเรื่องที่อันตรายหรือไม่

บทความนี้จะพาเหล่านุดทาสทุกคนมาไขข้อสงสัยกันว่า สาเหตุที่น้องแมวขนร่วงเป็นกระจุก สามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติใดในน้องแมวได้บ้าง ถ้าพร้อมแล้วก็ตามมากันได้เลยย

ทำไมแมวขนร่วงเยอะหรือร่วงเป็นกระจุก?

1.แมวผลัดขนเพราะอากาศร้อน 

เป็นเรื่องธรรมชาติที่น้องแมวจะผลัดขนเพื่อปรับตัวให้เข้ากับอากาศร้อน เพราะขนที่หนาเกินไปจะทำให้ร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ดี แต่หากสังเกตเห็นว่าน้องแมวผลัดขนมากกว่าปกติ อาจมีสาเหตุอื่น ๆ ซ่อนอยู่ เช่น

  • อากาศร้อนจนเกินไป – ทำให้น้องแมวต้องการผลัดขนเพื่อปรับตัวมากเป็นพิเศษ
  • ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ – เช่น โรคผิวหนัง, การติดเชื้อหรือขาดสารอาหาร ซึ่งอาจส่งผลให้ขนร่วงมากผิดปกติ

วิธีดูแล ป้องกัน

  • เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิในห้อง
  • จัดเตรียมที่นอนให้น้องแมวในที่ร่ม เย็น และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
  • หลีกเลี่ยงการพาน้องแมวออกไปข้างนอกในช่วงที่อากาศร้อนจัด
  • เปลี่ยนน้ำให้น้องแมวบ่อย ๆ เพื่อให้น้ำสะอาด และเย็นอยู่เสมอ
  • อาบน้ำให้น้องแมวด้วยแชมพูสูตรอ่อนโยนสำหรับแมวสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรบ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวหนังแห้ง

2.แมวขนร่วงจากอาการคัน ที่มาจากโรคหรือติดเชื้อ

อาการคันก็ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของขนที่ร่วงเป็นกระจุก เนื่องจากน้องแมวอาจมีการเลียหรือเกาจนขนร่วงได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการคันในแมวมีได้ดังนี้

2.1 ติดปรสิต (Parasitic disorder)

  • โรคหิดในแมว (Scabies) เกิดจากการติดเชื้อไรชนิดหนึ่งที่ชอนไชลงไปในผิวหนัง ทำให้แมวรู้สึกคันอย่างรุนแรง และเกาตัวอยู่ตลอดเวลาตามบริเวณขอบใบหู, ข้อศอก, ใต้ท้อง, หัวเข่าสามารถแพร่ไปที่สัตว์ตัวอื่นหรือเจ้าของได้อีกด้วย
  • ไรขี้เรื้อนเปียกในแมว (Feline demodicosis) เกิดจากไรชนิด Demodex cati และ Demodex gatoi ซึ่งเป็นปรสิตขนาดเล็กอาศัยอยู่ใต้ผิวหนังของแมว
    • Demodex cati มักพบที่ต่อมขนบริเวณหัว เช่น ใต้คาง ใต้หู และใบหู ทำให้แมวคัน และขนร่วง
    • Demodex gatoi อาศัยอยู่บนผิวหนัง ทำให้แมวคัน และขนร่วงตามลำตัว อาจพบในอุจจาระของแมวได้ เนื่องจากแมวอาจเลียขน และกลืนกินไรเข้าไป ซึ่งอาจแพร่สู่สัตว์เลี้ยงตัวอื่นหรือตัวเราได้

วิธีดูแล ป้องกัน

  • คอยสังเกตอาการผิดปกติของน้องแมวเป็นประจำ เช่น มีอาการคันมาก ขนร่วงเป็นหย่อม ๆ มีสะเก็ดหรือตุ่มแดงตามผิวหนัง
  • ทำความสะอาดบริเวณที่น้องแมวอาศัยอยู่เป็นประจำ
  • ตัดแต่งขนให้สั้นลงเพื่อลดแหล่งอาศัยของไร
  • อาบน้ำให้น้องแมวด้วยแชมพูสูตรอ่อนโยนสำหรับแมวสม่ำเสมอ

2.2 ติดเชื้อรา (Dermatophytosis) 

มักพบในแมวเด็กโดยเฉพาะ เพราะภูมิคุ้มกันพวกเค้ายังไม่แข็งแรง รวมถึงอาจมีสภาพแวดล้อมที่แออัด ร้อนชื้น ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

วิธีดูแล ป้องกัน

  • ทำความสะอาดที่อยู่อาศัยของน้องแมวเป็นประจำ
  • หมั่นพาแมวไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแมวอื่นที่ไม่รู้จัก
  • หากต้องรับประทานยา ควรใช้ยาตามที่สัตวแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

2.3 เป็นภูมิแพ้ (Feline atopic syndrome) 

แมวที่เป็นภูมิแพ้มักมีอาการคัน และระคายเคืองผิวหนัง ซึ่งอาจแสดงออกได้หลายรูปแบบ ดังนี้

  • เลียขนจนบาง – แมวจะเลียขนตัวเองบ่อยจนขนบางลงหรือร่วง แต่ผิวหนังอาจจะไม่แดงหรืออักเสบ
  • คันบริเวณหัว คอ และใบหู – แมวจะเกาบริเวณเหล่านี้บ่อย ๆ
  • มีผื่นนูน และสะเก็ด – อาจพบตุ่มนูนแดง และสะเก็ดบนผิวหนัง
  • มีผื่นนูนแดงขนาดใหญ่ – เป็นตุ่มนูนแดงขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร มักพบที่บริเวณท้องหรือขา

วิธีดูแล ป้องกัน

  • เปลี่ยนทรายแมวบ่อย ๆ เพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง
  • เปลี่ยนผ้าปูที่นอน และซักด้วยน้ำร้อนเป็นประจำ
  • ใช้เครื่องฟอกอากาศ เพื่อช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ
  • ทำความสะอาดที่นอน หมอน และของใช้ส่วนตัวของแมวบ่อยๆ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่ปราศจากสารเคมี

2.4 แพ้อาหาร (Adverse food reaction) 

มักเกิดจากการกินโปรตีนชนิดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านโปรตีนนั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยทั่วไปแมวมักแพ้โปรตีนจากไก่ เนื้อวัว และปลา โดยอาการที่พบได้บ่อยคือ 

  • ผิวหนังอักเสบ 
  • คัน 
  • ขนร่วง 
  • อาจมีอาการทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย อาเจียน และซึม

วิธีดูแล ป้องกัน

เลือกอาหารแมวให้เหมาะสม โดยมีส่วนประกอบของโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่น้องแมวไม่มีอาการแพ้ รวมถึงอาหารที่ปราศจากวัตถุกันเสีย เพราะอาจกระตุ้นให้น้องแมวเกิดอาการแพ้ได้

นุดทาสสามารถศึกษาวิธีการส่วนผสมเพื่อให้เราสามารถเลือกอาหารที่เหมาะสม พอดีกับน้องแมวกันได้ ที่นี่

3.แมวขนร่วงแต่ไม่มีอาการคัน

อาการขนร่วง แต่น้องแมวไม่มีอาการคัน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  • กลุ่มที่ไม่เกิดจากการอักเสบ – มักจะเห็นขนร่วงเท่า ๆ กันทั้งสองข้างของร่างกาย
  • กลุ่มที่เกิดจากการอักเสบ – ขนจะร่วงไม่เท่ากัน อาจร่วงเป็นหย่อม ๆ หรือกระจายไม่สม่ำเสมอ

3.1 สาเหตุที่ไม่ได้มาจากการอักเสบ (Non-inflammatory causes) 

3.1.1 เกิดจากแมวมีความเครียด

ความผิดปกติของวงจรเส้นขน (Hair cycle disorder) ซึ่งมักเกิดจากความเครียดเป็นหลัก โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

  • เครียดระยะสั้น – ทำให้ขนเปราะบาง และขาดง่าย ภายใน 7 – 14 วัน นุดทาสอาจสังเกตเห็นขนร่วงมากขึ้น
  • เครียดระยะยาว – มักเกิดได้จากการตั้งท้อง เจ็บป่วยหรือการผ่าตัด ทำให้ขนร่วงรุนแรงขึ้น ภายใน 30 – 45 วัน

นอกจากนี้ความเครียดยังอาจส่งผลให้น้องแมวเกิดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ (Compulsive disorder) อย่างการเลียขนตัวเองบ่อยจนเกินไปหรือที่เรียกว่า ‘Grooming’ อีกด้วย 

หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าแมวที่เลียขนบ่อยเป็นแมวรักสะอาด แต่จริง ๆ แล้ว อาการนี้บ่งบอกว่าน้องแมวกำลังเครียดต่างหาก การเลียขนมากเกินไปเป็นเหมือนการปลอบใจตัวเองของน้องแมว ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การอยู่ร่วมกับแมวตัวอื่น ๆ มากเกินไป การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมหรือแม้แต่การถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ ถ้าพบว่าน้องแมวมีอาการแบบนี้ ควรพาน้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และปรึกษาเรื่องพฤติกรรมด้วยนะ

วิธีดูแล ป้องกัน

  • จัดเตรียมที่หลบซ่อนให้แมว เช่น กล่องกระดาษ บ้านแมว
  • เล่นหรือหากิจกรรมทำร่วมกับพวกเค้าเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ่อยครั้ง
  • แปรงขนเป็นประจำเพื่อช่วยลดขนที่หลุดร่วง และทำให้แมวรู้สึกผ่อนคลาย

3.1.2 ขนร่วงจากฮอร์โมนแมว (Hormonal disorders) การที่แมวมีฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูงเกินปกติ (Hyperestrogenism) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขนร่วงได้ โดยสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนตัวนี้สูงผิดปกตินั้น อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น

  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากภายนอก เช่น การใช้ยารักษาหรือการได้รับฮอร์โมนเป็นเวลานาน
  • ความผิดปกติภายในร่างกาย เช่น การมีถุงน้ำหรือเนื้องอกในรังไข่ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในแมวตัวเมียหรือแม้แต่ในแมวตัวผู้ที่เป็นมะเร็งที่อัณฑะ ก็สามารถสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนได้เช่นกัน ทำให้เกิดอาการขนร่วง ผิวมัน และหัวนมขยาย
  • ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์ทำงานเกิน, โรค Cushing’s หรือโรคเบาหวาน ก็สามารถส่งผลให้ขนร่วงได้เช่นกัน

วิธีดูแล ป้องกัน

  • หมั่นพาน้องแมวไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ
  • ให้อาหารที่มีคุณภาพ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • สังเกตอาการผิดปกติของน้องแมวอยู่เสมอ
  • แปรงขนเป็นประจำเพื่อสร้างความผ่อนคลาย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

3.2 สาเหตุที่มาจากการอักเสบ (Inflammatory causes)

การขนร่วงที่เกิดจากการอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อ เช่น ปรสิต แบคทีเรียหรือเชื้อรา ถึงแม้จะเป็นไปได้ แต่พบได้ไม่บ่อยนักที่จะไม่มีอาการคันร่วมด้วย เพราะโดยปกติแล้วน้องแมวที่เกิดการติดเชื้อเหล่านี้มักจะมีอาการคันรวมอยู่ด้วย

วิธีดูแล ป้องกัน

  • หมั่นสังเกตอาการขนร่วงของน้องแมวอยู่เสมอ
  • หากพบว่ามีความผิดปกติ ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุ
  • รักษาตามคำแนะนำของสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ทำความสะอาดที่นอนและของใช้ของแมวเป็นประจำ

4.เกิดจากแมวขาดสารอาหาร  

ปัญหาขนร่วงของน้องแมว ก็อาจเกิดจากการขาดโปรตีนได้เช่นกัน เพราะการขาดโปรตีนจะส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของรูขุมขน ทำให้ขนใหม่ไม่สามารถงอกขึ้นมาทดแทนได้ และขนเดิมก็อ่อนแอหลุดร่วงง่ายขึ้น จนเห็นเป็นกระจุก ๆ ดังนั้นการดูแล และป้องกันที่ดีที่สุดคือการให้อาหารโดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการก็มีความสำคัญ

ในปัจจุบันมีอาหารเม็ดบางยี่ห้อที่มีส่วนผสมจากเนื้อสัตว์แท้โดยไม่มีการผสมผลพลอยได้จากสัตว์ ไม่มีส่วนผสมของข้าวโพด และข้าวสาลี มีโซเดียมต่ำ ทำให้น้องแมวเหมียวสนุกไปกับทุก ๆ มื้อกับอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารที่สูงมาก เพราะกินง่าย และมีโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของน้องแมวเหมียวได้เป็นอย่างดี

เพราะความผิดปกติเพียงเล็กน้อย ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนจากพวกเค้าได้ การสังเกตอาการผิดปกติของน้องแมวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากเราไม่ใส่ใจดูแลน้องแมวอย่างใกล้ชิด อาจพลาดโอกาสในการรักษาที่เหมาะสมจนอาจสายเกินไปได้ ดังนั้นอย่ารอจนสายเกินไป มาดูแลน้องแมวให้แข็งแรงและอายุยืนกันเถอะ

และสำหรับใครที่กำลังมองหาอาหารแมวคุณภาพ เราขอแนะนำ Pawdy Holistic Feline อาหารแมวคุณภาพเกรด Holistic มีส่วนผสมจากเนื้อสัตว์แท้ ไม่มีการผสมผลพลอยได้จากสัตว์ รวมถึงส่วนผสมของข้าวโพด และข้าวสาลี นุดทาสจึงมั่นใจได้อย่างแน่นอนว่า เจ้านายตัวน้อยจะได้รับโภชนาการที่ครบองค์รวม ช่วยให้พวกเค้ามีสุขภาพที่แข็งแรง ขนสวย เงางามได้อย่างแน่นอน สนใจสั่งซื้อได้ ที่นี่

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

ผศ.ดร.สพ.ญ.มธุรวันต์ ทัฬหกิรณ์ จากภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข

https://familyvet.com/storage/app/media/AlopeciaCat.pdf

https://www.walkervillevet.com.au/blog/cat-hair-loss-causes

https://www.msdvetmanual.com/cat-owners/skin-disorders-of-cats/hair-loss-alopecia-in-cats

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top